จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การแยกทักษะวิชาภาษาไทย

การแยกทักษะวิชาภาษาไทย              
เด็กที่จะอ่านออกเขียนได้ จะต้องมีทักษะวิชาภาษาไทย ตามลำดับดังนี้
    1.   การจำแนกพยัญชนะ
2.  การจำแนกสระ
3.  การอ่านคำที่ประสมด้วยพยัญชนะต้น 44 รูป 21 เสียง
4.  การอ่านคำที่ประสมด้วยสระ 32 รูป 21 เสียง
5.  การอ่านคำตามเสียงวรรณยุกต์
6.  การอ่านคำที่มีอักษรครบ
7.  การอ่านคำที่มีอักษรนำ
8.  การอ่านคำที่มีตัวสะกดรูป
9.  การอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงมาตรา 8 มาตรา
10. การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา 4 มาตรา
11.  การอ่านเขียนพยัญชนะ สระ ได้ถูกต้อง สวยงาม พอควร
12.  การอ่านจับใจความ
13.  การเขียนคำศัพท์ตามข้อ 3 – 10 รวมทั้งคำที่มีตัวการันต์
14.  การเขียนประโยค เขียนเรียงความ
    15.  การจดบันทึก คำบรรยาย ในวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนจะต้องแจกแจงทักษะเช่นเดียวกันให้สอดคล้องตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ในแต่ละสาระ ในแต่ละขั้นจะต้องมีการปรับวิธีสอน แต่ละวิธีให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน เช่น ในการสอบอาจจำเป็นต้องอ่านข้อสอบให้ฟัง หรือออกแบบวิธีสอนใหม่ โดยการสอบสัมภาษณ์ หลีกเลี่ยงการสอบข้อเขียน เป็นต้น 

เทคนิคการสอนภาษา
1.  Fading หมายถึง การเลือนลง ใช้ในการสอนเขียนตัวอักษร ตัวเลข ฝึกลายมือ
2. Phonics หมายถึง เสียง เป็นการสอนอ่านออกเสียง โดยคำนึงถึงหน่วยเสียงในภาษาเป็นสำคัญ 
ตัวอย่างการสอนสระอา
            มา  กา  วา   ยา 
การสอนอักษรควบกล้ำ
            กล้า กล้อง    กล้วย    กลืน 
3. Guided Note เป็นเทคนิคที่ทำให้คำหรือข้อความในประโยคในเรื่องที่อ่านมีสีเข้มขึ้น แตกต่างไปจากตัวอักษรอื่น ทำให้อ่านง่าย ใช้ในการสอนอ่านจับใจความ
4. 
Herring Bone Method เป็นการสอนโดยใช้ไดอะแกรมประกอบให้เห็นใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เปรียบเสมือนก้างปลาที่มีก้างใหญ่ และก้องเล็ก ใช้ในการสอนอ่านจับใจความ
5. 
Graphic Organizer เป็นการใช้กราฟประกอบการอธิบายเนื้อหาใจความ ใช้ประกอบการบรรยายการสอน การอธิบายเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาสาระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น