จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำซ้อน(๒)

ลักษณะคำซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำไทยซ้อนกับคำภาษาอื่น 
ส่วนมากเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตและเขมร เพื่อประโยชน์ในการแปลความหมายด้วย
ในการสร้างคำใหม่ด้วยดังกล่าวแล้ว คำที่มาซ้อนกันจึงต้องมีความหมายคล้ายกัน
เมื่อซ้อนแล้วความหมายมักไม่เปลี่ยนไป คำซ้อนลักษณะนี้มีดังนี้
คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต ได้แก่ ซากศพ (ศพ จาก ศว สันสกฤต) รูปร่าง โศกเศร้า
ยวดยาน ทรัพย์สิน (ทรัพย์ จาก ทฺรวฺย สันสกฤต) ถิ่นฐาน จิตใจ ทุกข์ยาก
คำไทยกับคำเขมร ได้แก่ แสวงหา เงียบสงัด เงียบสงบ ถนนหนทาง สะอาดหมดจด
ยกเลิก เด็ดขาด
คำภาษาอื่นซ้อนกันเอง

คำบาลีกับสันสกฤตซ้อนกันเอง ได้แก่
อิทธิฤทธิ์ (อิทฺธิ บ. + ฤทฺธิ ส.)
รูปพรรณ (รูป บ.ส. + พรรณ จาก วรฺณ ส.)
รูปภาพ (รูป + ภาพ บ.ส.)
ยานพาหนะ (ยาน + วาหน บ.ส.)

ทรัพย์สมบัติ (ทฺรวฺย ส. + สมฺปตฺติ บ.ส.)
คำเขมรกับบาลีสันสกฤต ได้แก่ สุขสงบ สรงสนาน เสบียงอาหาร
คำเขมรกับเขมร ได้แก่ สะอาดสอาง สนุกสบาย เลิศเลอ สงบเสงี่ยม

ข. คำซ้อนเพื่อเสียง
ด้วยเหตุที่คำซ้อนเพื่อเสียง มุ่งที่เสียงยิ่งหว่าความหมาย คำที่
เข้ามาซ้อนกันจึงอาจจะไม่มีความหมายเลย เช่น โล กับ เล หรือมี
ความหมายเพียงคำใดคำเดียว เช่น มอมกับแมม มอม มีความหมาย
แต่ แมม ไม่มีความหมาย บางทีแต่ละคำมีความหมาย แต่ความหมาย
ไม่เนื่องกับความหมายใหม่เลย เช่น งอแง งอ หมายว่า คด โค้ง
แต่ แง หมายถึงเสียงร้องของเด็ก ส่วนงอแง หมายว่า ไม่สู้ เอาใจ
ยาก วิธีการสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง จึงต่างกับคำซ้อนเพื่อความหมายดังนี้

วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง
          1. นำคำที่เสียงมีที่เกิดระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันซ้อนกันเข้า
          2. ซ้อนกันแล้ว จะเกิดความหมายใหม่ ซึ่งโดยมากไม่เนื่องกับ
ความหมายของคำเดี่ยวแต่ละคำ แต่ที่มีความหมายเนื่องกันก็มี
สระหน้ากับกลาง
อิ + อะ เช่น จริงจัง ชิงชัง
เอะ เอ + อะ อา เช่น เกะกะ เปะปะ เบะบะ เละละ
เก้งก้าง เหง่งหง่าง
แอะ แอ + อะ อา เช่น แกรกกราก
สระกลางกับกลาง
อึ + อะ เช่น ขึงขัง ตึงตัง กึงกัง ตึกตัก ทึกทัก หงึกหงัก
เออะ เออ + อะ อา เช่น เงอะงะ เทอะทะ เร่อร่า เซ่อซ่า เลิ่กลั่ก เยิบยาบ
สระหลังกับกลาง
อุ + อะ อา เช่น ตุ๊ต๊ะ ปุปะ กุกกัก รุงรัง ปุบปับ
งุ่นง่าน ซุ่มซ่าม รุ่มร่าม
โอะ โอ + อะ อา เช่น โด่งดัง กระโตกกระตากโคร่งคร่าง โผงผาง
เอาะ ออ + อะ อา เช่น หมองหมาง
          2. เสียงของคำที่มาซ้อนกันมีเสียงที่เกิดระดับเดียวกัน ดัง
กล่าวแล้วในเรื่องเสียงสระ เสียงระดับเดียวกันคือ เสียงที่เกิดเมื่อ
โคนลิ้นหรือปลายลิ้นกระดกขึ้นได้ระดับเดียวกัน เสียงสระหน้ากับสระ
หลังที่ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกัน ได้แก่ อิ กับ อุ เอะ กับ โอะ แอะ
กับ เอาะ แต่คำที่นำมาซ้อนกัน เสียงสระหลังจะเป็นคำต้น เสียงสระ


หน้าเป็นคำท้าย ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะเมื่อเวลาออกเสียง
ลมหายใจจะต้องผ่านจากด้านหลังของปากมาทางด้านหน้า คำที่ซ้อน
เพื่อเสียงลักษณะนี้มีดังนี้
อุ อู + อิ อี เช่น ดุกดิก ยุ่งยิ่ง กรุ้มกริ่ม อุบอิบ อู้อี้ บู้บี้ จู้จี้ สูสี
โอะ โอ + เอะ เอ เช่น โงกเงก โอนเอน โย่งเย่ง บ๊งเบ๊ง โอ้เอ้ โย้เย้ โผเผ
เอาะ ออ + แอะ แอ เช่น ง่อกเง่ก จ๋องแจ๋ง กรอบแกรบ กล้อมแกล้ม อ้อแอ้ งอแง ร่อแร่ วอแว
ที่เป็นสระผสมก็มี ส่วนมากเป็นสระผสมกับหลัง ดังนี้
สระหน้ากับหน้า
เอีย + ไอ อาย เช่น เรี่ยไร เรี่ยราย เบี่ยงบ่าย เอียงอาย
ไอ + เอีย เช่น ไกล่เกลี่ย ไล่เลี่ย
สระหลังกับหลัง
อัว + เอา เช่น ยั่วเย้า มัวเมา
สระหลังกับหน้า
เอา อาว + ไอ อาย เช่น เมามาย ก้าวก่าย
อัว + เอีย เช่น อั้วเอี้ย ยั้งเยี้ย กลั้วเกลี้ย ต้วมเตี้ยม ป้วนเปี้ยน
          3. เสียงของคำที่มาซ้อนกันมีที่เกิดอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้วคำที่มีตัวสะกด ตัวสะกดคำต้นกับคำท้ายต่างกันก็มี ดังนี้
สระกลางกับหน้า
อะ + เอีย เช่น พับเพียบ ยัดเยียด ฉวัดเฉวียน
สระกลางกับหลาง
เอือ + อา เช่น เจือจาน
สระกลางกับหลัง
อะ + อัว เช่น ผันผวน
สระหน้ากับกลาง
เอีย + อา เช่น เรี่ยราด ตะเกียกตะกาย
สระหน้ากับหลัง
เอ + ออ เช่น เร่ร่อน
สระหลังกับกลาง
อัว + อา เช่น ชั่วช้า ลวนลาม
สระหลังกับหน้า
อัว + เอ เช่น รวนเร สรวลเส
เอา + อี เช่น เซ้าซี้
สระหลังกับหลัง
โอ + เอา เช่น โง่เง่า
          4. คำที่นำมาซ้อนกันมีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดต่างกัน มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
                    ก. ตัวสะกดต่างกันในระหว่างแม่ตัวสะกดวรรคเดียวกันคือระหว่าง แม่กก กับ กง แม่กด กับ กน และแม่กบ กับ กม ดังนี้

แม่กก กับ แม่กง เช่น แจกแจง กักขัง
แม่กด กับ แม่กน เช่น อัดอั้น ออดอ้อน เพลิดเพลิน จัดจ้าน คัดค้าน
แม่กบ กับ แม่กม เช่น รวบรวม ปราบปราม
                    ข. ตัวสะกดต่างกันไม่จำกัดวรรค ได้แก่
แม่กก กับ แม่กม เช่น ชุกชุม
แม่กก กับ แม่กน เช่น แตกแตน ลักลั่น ยอกย้อน
แม่กก กับ แม่เกย เช่น ทักทาย ยักย้าย หยอกหย็อย
แม่กด กับ แม่กง เช่น สอดส่อง
          5. คำที่นำมาซ้อนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระ และตัวสะกด
แม่กก กับ แม่กง เช่น ยุ่งยาก ยักเยื้อง กระดากเดื่อง
แม่กก กับ แม่กน เช่น รุกราน บุกบั่น ลุกลน
แม่กก กับ แม่กม เช่น ขะมุกขะมอม
แม่กก กับ แม่เกย เช่น แยกย้าย โยกย้าย ตะเกียกตะกาย
แม่กง กับ แม่เกย เช่น เบี่ยงบาย เอียงอาย มุ่งหมาย
แม่กง กับ แม่กน เช่น คั่งแค้น กะบึงกระบอน
แม่กด กับ แม่กง เช่น ปลดเปลื้อง ตุปัดตุป่อง เริดร้าง ตะขิดตะขวง
แม่กด กับ แม่กน เช่น อิดเอื้อน ลดหลั่น
แม่กน กับ แม่กง เช่น เหินห่าง พรั่นพรึง หม่นหมอง แค้นเคือง
แม่กน กับ แม่กม เช่น รอนแรม ลวนลาม
แม่กบ กับ แม่กม เช่น ควบคุม
แม่กม กับ แม่กง เช่น คลุ้มคลั่ง
แม่กม กับ แม่เกย เช่น ฟุ่มเฟือย
ที่ คำท้าย เป็นคำที่ไม่มีเสียงตัวสะกดเลยก็มี เช่น
ลบหลู่ ปนเป เชือนแช พื้นเพ หมิ่นเหม่ ลาดเลา หดหู่เขม็ดแขม่ เตร็ดเตร่ โรยรา ตะครั่นตะครอ ทุลักทุเล คลุกคลี
          6. คำที่ซ้อนกัน มีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดคำท้ายกร่อนเสียงหายไป คำเหล่านี้เชื่อว่าคงจะเป็นคำซ้ำ เมื่อเสียงไปลงหนักที่คำต้นเสียงคำท้ายที่ไม่ได้เน้นจึงกร่อนหายไป น่าสังเกตว่าเมื่อตัวสะกดกร่อนหายไป เสียงสูงต่ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อชดเชยกับเสียงกร่อนนั้นๆ ได้แก่ จอนจ่อ (จากจอนๆ) งอนหง่อ ร่อยหรอ เลินเล่อ เตินเต่อ เทินเถ่อ โยกโย้ ทนโท่ ดนโด่ (ในคำกระดกกระดนโด่)
คำซ้อนเพื่อความหมายที่สับหน้าสับหลัง แล้วมีความหมายทั้งสองคำ ได้แก่
แน่นหนา กับ หนาแน่น แน่นหนา ความหมายเน้นที่ แน่น อย่างไม่หลุดไม่ถอน แน่นหนา คือ แน่นมาก เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา คือ
ใส่กุญแจเรียบร้อยทุกดอก ไขอย่างไรก็ไม่ออก ส่วน หนาแน่นความหมายเน้นที่ หนา ซึ่งตรงข้ามกับบาง มักใช้กับผู้คนจำนวนมาก
เช่น ผู้คนหนาแน่น บ้านช่องหนาแน่น (คือบ้านมีมากหลัง ผู้คนย่อมจะมีมากไปด้วย)

อยู่กิน กับ กินอยู่ กินอยู่ หมายถึงพักอาศัย อาจรวมถึงกินอาหารด้วย เช่น ให้เงินค่ากินอยู่ คือให้ค่าที่พักและค่าอาหาร  ส่วนอยู่กินนั้นหมายเลยไปถึงการดำเนินชีวิตฉันสามีภรรยา

คำซ้อน 4 คำหรือ 6 คำ  คำซ้อนลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็น 4 คำหรือ 6 คำ จะมีสัมผัสกลางคำ ส่วนที่สัมผัสกันนั้น เห็นได้ชัดว่า เพื่อประโยชน์ทางเสียงโดยแท้เพราะความหมายไม่ได้ปรากฏที่นั่น ความหมายของทั้งคำปรากฏที่คำต้นกับคำท้ายบ้าง หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำบ้าง ส่วนคำข้างท้าย2 คำ ไม่ปรากฏความหมายที่ความหมายปรากฏที่คำต้นและคำท้าย  
ยากดีมีจน (ยากจน) ผลหมากรากไม้ (ผลไม้) ข้าวยาก หมากแพง (ข้าวแพง) เอาใจดูหูใส่ (เอาใจใส่) หัวหายสพายขาด (หัวขาด)

ที่ความหมายปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ

เจ็บไข้ได้ป่วย (เจ็บไข้) อดอยากปากแห้ง (อดอยาก) เกี่ยวดองหนองยุ่ง (เกี่ยวดอง)   ดูหมิ่นถิ่นแคลน (ดูหมิ่น) รูปโฉมโนมพรรณ (รูปโฉม)

ที่ไม่ปรากฏความหมายที่คำใดๆ เลยก็มี ต้องถือเป็นเรื่องซ้อนเพื่อเสียงแท้ๆ เช่น อีลุ่ยฉุยแฉก อีหลุกขลุกขลัก อีหร่ำต่ำฉึก

ที่ซ้อน 6 คำ ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้าย ได้แก่ อดตาหลับขับตานอน (อดนอน)
แต่ส่วน ขิงก็ราข่าก็แรง มีความหมายทั้ง 6 คำ 
คำซ้อน 2 คู่
คำซ้อนลักษณะนี้จะมีคำที่มีคำ 2 คำ ซึ่งอาจเป็นคำซ้อนหรือไม่ใช่คำซ้อนก็ได้ ซ้อนกันอยู่ 2 คู่ด้วยกัน มีลักษณะต่างๆ กัน
          1. คำซ้อนสลับ คือคำซ้อน 2 คู่สลับที่กัน คู่แรกแยกเป็นคำที่ 1 กับ 3 คู่ที่ 2 แยกเป็นคำที่ 2 กับ 4 คำที่นำมาซ้อนกันมักเป็นคำตรงกันข้าม ความหมายทั้งคำจึงต่างกับความหมายของคำที่แยกออกทีจะคำไปบ้าง ดังนี้
หน้า ชื่น อก ตรม ปากหวานก้นเปรี้ยว ผิดชอบชั่วดี หนักนิดเบาหน่อย
          2. คำที่ซ้อนกันเป็น 2 คู่เป็นคำประสมไม่ใช่คำซ้อน ซึ่งมีคำที่ 1 กับ 3 เป็นคำเดียวกันและคำที่ 2 กับ 4 เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันใช้ซ้อนกันอยู่ ความหมายจะเด่นอยู่ที่คำข้างหน้าหรือคำข้างท้าย 2 คำ คำที่ 2 กับ 4 มักเป็นคำนาม ที่เป็นคำกริยาก็มีบ้าง   อด หลับ อด นอน (อดนอน ความหมายเด่นอยู่ที่คำท้าย 2 คำ)   ผิดหูผิดตา (ผิดตา ความหมายเด่นอยู่ที่คำท้าย)
ถูกอกถูกใจ (ถูกใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำท้าย)      หน้าอกหน้าใจ (หน้าอก ความหมายเด่นอยู่ที่คำหน้า 2 คำ)      หายใจหายคอ (หายใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำหน้า 2 คำ)    เป็นทุกข์เป็นร้อน (เป็นทุกข์ ความหมายเด่นอยู่ที่คำหน้า 2 คำ)  น่าสังเกตว่าถ้าเป็นเรื่องร่างกาย ความหมายเด่นอยู่ที่คำ อกแต่ถ้าเป็นเรื่องความรู้สึกความหมายอยู่ที่ใจ
         3. คำที่ซ้อนกันเป็นคำประสม 2 คู่ คำที่ 2 กับ 4 เป็นคำตรงกันข้าม ส่วนคำที่ 1 กับ 3 เป็นคำเดียวกัน ความหมายของคำซ้อนลักษณะนี้จึงต่างกับความหมายของคำเดี่ยวที่แยกออกไปทีละคำ ดังนี้
มิดีมิร้าย หมายความว่า ร้าย (ไม่ใช่ว่าไม่ดีไม่ร้ายเป็นกลางๆ อย่างไม่ได้ไม่เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ)   พอดีพอร้าย หมายความว่า ปานกลาง ไม่ดีมากแต่ก็ไม่เลวมาก  ไม่มากไม่น้อย หมายความว่า วางตัวพอดี เฉยๆ
คำในข้อ 2 กับข้อ 3 อาจถือเป็นคำซ้อนซ้ำ คือคำที่ 1 กับ 3 เป็นคำซ้ำซ้อนสลับคู่กับคำซ้อน ที่เป็นคำที่ 2 กับ 4 แต่ที่จริงข้อ 2 ควรเป็นคำประสมมากกว่าเพราะคำ อด ผิด ถูก หน้า หาย เป็น ฯลฯ
ที่เป็นตัวซ้ำได้มาจากคำประสมว่า อดนอน ผิดตา ถูกใจ หน้าอก หายใจ เป็นทุกข์ หรือคำประสมที่ตรงกันข้าม เช่น มิดี กับมิร้าย ไม่ใช้ว่ากำหนดขึ้นมาตามชอบใจ

การใช้คำซ้อนเพื่อเสียง


มีใช้แต่เป็นคำวิเศษณ์เสียโดยมาก มีทั้งวิเศษณ์ขยายนามและขยายกริยา ที่ใช้เป็นกริยาก็มีบ้าง แต่
ที่เป็นคำนามมีน้อยที่ใช้เป็นคำขยายนาม ได้แก่ เกะกะ เงอะงะ รุงรัง ซุ่มซ่าม
ที่ใช้เป็นคำขยายกริยา ได้แก่ ยั้วเยี้ย ง่อกแง่ก ต้วมเตี้ยม อุบอิบ
ที่ใช้เป็นคำกริยา ได้แก่ สูสี เบี่ยงบ่าย ตะเกียกตะกาย ยั่วเย้า
ที่ใช้เป็นนาม ได้แก่ ผลหมากรากไม้ รูปโฉมโนมพรรณ

ประโยชน์ของคำซ้อนเพื่อเสียง
          1. ทำให้ได้คำใหม่ที่สร้างได้ง่ายกว่าคำซ้อนเพื่อความหมาย
          2. ได้คำที่มีเสียงกระทบกระทั่งกัน เหมาะที่จะใช้ในการพรรณาลักษณะให้ได้ใกล้เคียงความจริง ทำให้เห็นจริงเห็นจังยิ่งขึ้น
          3. ได้คำที่มีทั้งเสียงและความหมายใหม่ โดยอาศัยคำเดิมที่มีอยู่แล้ว
ข้อควรสังเกต

          1. คำซ้อนในภาษาไทยส่วนใหญ่มีเสียงสัมผัสกัน เช่น ซาบซึ้ง ปีนป่าย เฮฮา
          2. คำที่มี 2 พยางค์ อาจซ้อนกันกลายเป็นคำซ้อน 4 พยางค์ เช่น เฉลี่ยวฉลาด ตะเกียกตะกาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น